วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะมีการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายอย่างกว้างขวาง  ทำให้เครือข่าย คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน  เรียกว่า  อินเทอร์เน็ต   ขณะเดียวกันในองค์กรแต่ละองค์กร ก็มีการพัฒนาเครือข่ายของตนเองและประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะในองค์กร เรียกว่าอินทราเน็ต  ดังนั้น  อินเทอร์เน็ตจึง แตกต่างจากอินทราเน็ตตรงที่ขอบเขตของการเชื่อมโยง  ส่วนมาตรฐานและวิธีการเชื่อมโยงยังคงเป็นมาตรฐานเดียวกัน
1  อินเทอร์เน็ต 
     อินเทอร์เน็ตพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512  โดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทุนกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำในสหรัฐฯ  เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้าเป็นเครือข่าย  และใช้ทรัพยากรเพื่อทำงานวิจัย เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกัน  ซึ่งสมัยแรกใช้ชื่อว่า  อาร์ปาเน็ต  และจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินเทอร์เน็ตในภายหลัง  เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน  โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลมีชื่อว่า   ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)  ต่อมามีการเชื่อมเครือข่ายออกสู่องค์กรเอกชน และแพร่ขยายไปทั่วโลก        เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายของเครือข่าย  หมายความว่าในองค์กรได้สร้างเครือข่ายภายในตนเองขึ้นมา  และนำมาเชื่อมต่อสู่เครือข่าย สากลอินเทอร์เน็ตนี้ โดยมีการกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ด้วยรหัสหมายเลขที่เรียกว่า แอดเดรส  ซึ่งอินเทอร์เน็ต กำหนดรหัสแอดเดรสเรียกว่า ไอพีแอดเดรส และถือเป็นรหัสสากลที่ไม่ซ้ำกันเลย  ไอพีแอดเดรสจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยเน้นเป็นรหัสของเครือข่ายและรหัสของอุปกรณ์  เช่น  รหัสแทนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108  ส่วนรหัสของเครื่องจะมีอีกสองพิกัดตามมา  เช่น  2.71  เมื่อเขียนรวมกันจะได้  158.108.2.71      เพื่อให้จดจำได้ง่ายจึงมีการตั้งชื่อคู่กับหมายเลข  เราเรียกชื่อนี้ว่า โดเมน  เช่นโดเมนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ ใช้ชื่อ  ku.ac.th  โดย th หมายถึงประเทศไทย ac หมายถึงสถาบันการศึกษา  และ ku  หมายถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   และถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายหลายเครื่อง  ก็ให้มีการตั้งชื่อเครื่องด้วย  เช่น  nontri เมื่อมีการเรียกรวมกันก็ จะเป็น  nontri.ku.ac.th  การใช้ชื่อนี้ทำให้ใช้งานง่ายกว่าตัวเลข      เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก  ทำให้โลกไร้พรมแดน  ข้อมูล  ข่าวสารต่าง ๆ สามารถสื่อถึงได้อย่าง รวดเร็ว  ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่น ๆ อีกมากที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา 1.  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
     เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์  ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร   แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส  ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว  ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน  เช่น  sombat@nontri.ku.ac.th  การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้  จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ   และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email)  กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 
2.  การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
     เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ  และให้บริการ  ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3.  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
     การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย  ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้    ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย  โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4.  การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
     ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน  หรือนำมาพิมพ์  ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้  ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW)  เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5.  การอ่านจากกลุ่มข่าว
     ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ  แยกตามความสนใจ  แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้  และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้  กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6.  การสนทนาบนเครือข่าย
               เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง   ในการติดต่อสนทนากันได้  ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้     ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
     ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี  ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ  ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย

1.  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
     เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์  ถ้าเราต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร   แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับที่เรียกว่า แอดเดรส  ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว  ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน  เช่น  sombat@nontri.ku.ac.th  การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้  จะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ   และนำส่งไปปลายทางได้อย่างถูกต้อง  การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email)  กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 
2.  การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน 
     เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ  และให้บริการ  ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3.  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
     การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย  ทำให้เราสามารถ เรียกหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการใน ที่ห่างไกลได้    ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย  โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4.  การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร

4.  การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
     ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน  หรือนำมาพิมพ์  ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้  ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW)  เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

     ปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถ เรียกอ่าน  หรือนำมาพิมพ์  ลักษณะการเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่าย ที่สามารถค้นหาข้อมูลใด ๆ ก็ได้  ฐานข้อมูล ในลักษณะนี้เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก(World Wide Web : WWW)  เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5.  การอ่านจากกลุ่มข่าว

5.  การอ่านจากกลุ่มข่าว
     ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ  แยกตามความสนใจ  แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้  และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้  กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว

     ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ  แยกตามความสนใจ  แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความ ลงไปได้  และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้  กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6.  การสนทนาบนเครือข่าย

6.  การสนทนาบนเครือข่าย
               เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง   ในการติดต่อสนทนากันได้  ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้     ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้

               เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง   ในการติดต่อสนทนากันได้  ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนาเป็นตัวหนังสือ ต่อมา พัฒนาให้ใช้เสียงได้     ปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย

7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
     ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี  ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ  ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย

     ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี  ผู้ใช้สามารถเลือกสถานที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือน การเปิดฟังวิทยุ  ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิโอบนเครือข่ายด้วย
2  อินทราเน็ต 
     เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย  จึงมีผู้ต้องการสร้างเครือข่ายใช้งานเฉพาะในองค์กร   โดยนำวิธีการในอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับเครือข่ายของตนเอง เครือข่ายที่ใช้งานเฉพาะในองค์การนี้จึงเรียกว่า  เครือข่ายอินทราเน็ต      การประยุกต์ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้หลักการที่มีสถานีให้บริการ และสถานีผู้ใช้บริการ  สถานีผู้ใช้บริการมีโปรแกรมเชื่อมต่อที่ทำให้ใช้งานระบบฐานข้อมูลได้ง่าย อินทราเน็ตจึงใช้วิธีการเดียวกันนี้   เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้การพัฒนาขึ้น และพร้อมที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
    
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น